แต่ไม่ใช่ว่าแนวอื่นจะทำไม่ได้เพียงแต่ยังไม่ค่อยเห็นภาพยนตร์แนวอื่นทำออกมากันซักเท่าใด อย่างแนวแอ็คชั่นเนี่ยแทบไม่ค่อยเห็นเลย แนวแอ็คชั่นแฟนตาซียังพอมีให้เห็นบ้างอย่าง สตาร์วอร์ก็จะทำภาค 4,5 และ 6 มาก่อนจากนั้นก็ย้อนกลับมาดำเนินเรื่องในภาค 1,2 และ 3 แล้วผูกให้เนื้อหามาเชื่อมโยงกัน เป็นเทคนิคอย่างหนึ่งในกรณีที่เขียนบทแล้วไม่ได้วางพล็อตเรื่องภาคต่อไว้ จึงพล็อตเนื้อหาย้อนหลังแล้วมาเชื่อมกับภาคเดิมแทน
ภาพยนตร์แนวอาชญากรรมเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจและน่าติดตามทุกภาคเลยก็คือ แฮนนิบาล ที่มี แอนโทนี่ ฮอฟส์กินส์ เป็นผู้ดำเนินเรื่องหลัก ในภาคแรกที่เปิดตัวออกมาเล่าถึงดร.แฮนนิบอล เล็คซ์เตอร์ที่หนีออกจากคุกมาได้ ซึ่งถ้าลำดับเหตุการณ์แล้วจะเป็นภาคจบที่ตอนท้ายก็ยังทิ้งปริศนาไว้ด้วย แต่ความจริงก่อนหน้านั้นมีภาคที่ออกมาก่อนเพียงแต่ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร พอมาถึงภาคแฮนนิบอล ที่ทำได้ดีก็ทำให้คนกลับไปดูภาคอื่นๆที่เกี่ยวข้องกัน ภาคไซเรน ออฟเดอะแลมบ์เนื้อหาจะเป็นภาคก่อนภาคแฮนนิบอล เป็นการดำเนินเรื่องเมื่อ ดร.แฮนนิบอล เล็คซ์เตอร์ยังอยู่ในคุก แต่ก็มีคดีฆาตกรต่อเนื่องที่ต้องไขปริศนาให้กับนักสืบที่เข้ามาขอความช่วยเหลือ และในตอนท้ายดร.เล็คซ์เตอร์ก็สามารถหนีออกจากคุกไปได้ ภาคเรดดราก้อนเป็นภาคก่อนภาคไซเรนออฟเดอะแลมบ์ ซึ่งมีการนำมาทำใหม่อีกครั้งหลังจากที่ภาคแฮนนิบอลและ ไซเรนออฟเดอะแลมบ์ติดตลาดไปแล้ว เล่าถึงเนื้อหาที่ดร.เล็คซ์เตอร์ถูกจับ แต่ก็ยังต้องไขปัญหาให้กับผู้ที่จับตนอีก และภาคสุดท้ายที่ออกมาคือ แฮนนิบอล ไรซิ่ง เป็นเนื้อหาที่เล่าถึง แฮนนิบอล สมัยเด็กและสาเหตุที่กลายมาเป็นฆาตกรโรคจิต
เมื่อเรียงตามเนื้อหาภาคแรกคือ แฮนนิบอล ไรซิ่ง ภาคสองคือเรดดราก้อน ภาคที่สามคือไซเรนออฟเดอะแลมบ์ และภาคที่สี่คือ แฮนนิบอล ถ้าดูตามเนื้อหาจะทำให้ปมต่างๆนั้นมันเชื่อมโยงกันพอดี ภาพยนตร์แนวนี้ค่อนข้างใช้จิตวิทยาสูง บางครั้งที่บทสนทนาจะดูสับสนฟังไม่ค่อยเข้าใจ แต่ถ้าดูตามเนื้อเรื่องแล้วจะทำให้เชื่อมโยงบทสนทนาเหล่านั้นได้ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร ถือเป็นความสามารถของโทมัส แฮร์รีส ผู้เขียนหนังสือเซ็ตนี้ขึ้นมา ผู้ที่ชื่นชอบการคิดหาเหตุผลตามเนื้อเรื่องเป็นภาพยนตร์ที่น่าสนใจ แต่ใครที่ไม่ชอบอะไรที่มันซับซ้อนก็น่าจะไม่ค่อยถูกอกถูกใจกันซักเท่าใดนัก