ภาพยนตร์ช่วยสร้างจินตนาการอย่างไร้ขีดจำกัด อย่าจมอยู่กับกะลาใบเดิมๆ ออกมาสู่โลกกว้างกันเถว่าง

ภาพยนตร์ ถูกสร้างมาเป็นครั้งแรกโดย โทมัส แอลวา เอดิสัน (Thomas Alva Adison)เมื่อพ.ศ. 2432 ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยทำเป็นตู้สูงลักษณะ 4 ฟุตที่เรียกกันเองว่า “ถ้ำมอง” โดยให้มองผ่านรูเล็กๆที่มีฟิล์มยาวประมาณ 50 ฟุต วางพาดไปมา โดยเคลื่อนไหวเป็นวงรอบผ่านช่องเลนส์ขยายกับหลอดไฟฟ้า ต่อมาพี่น้องตระกูลลูมิแอร์ (Lumiere) ชาวฝรั่งเศสก็พัฒนาให้ฉายขึ้นบนจอขนาดใหญ่ เรียกว่า “ซีเนมาโตกราฟ” (Cinimatograph)และต่อมาก็เกิดการพัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่องจนกลายมาเป็นระบบ 3 มิติในปัจจุบัน และสร้างอุตสาหกรรมภาพยนตร์โฆษณาขึ้น มีการออกฉายกันอย่างแพร่หลาย ในรูปแบบสารคดี บันเทิง และวรรณกรรมต่างๆ จนเข้าสู่ยุคแห่งจินตนาการที่ไร้ขีดจำกัดของผู้สร้างบท ภาพยนตร์ มีเผยแพร่กันหลักๆอยู่ 4 ช่องทางคือ โรงภาพยนตร์ กลางแปลง ทางแผ่นซีดี ดีวีดี และทางโทรทัศน์ อินเตอร์เนต นางสาวสุวรรณ คือหนังเรื่องแรกของคนไทย ที่แม้จะไม่มีเสียงแต่ก็ถือว่าประสบความสำเร็จ

ปัจจุบันอุตสาหกรรมของภาพยนตร์ไทยได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องจนเป็นที่ยอมรับจากชาวต่างชาติ มีการใช้เทคนิคที่ทันสมัย ภาพยนตร์ นอกจากจะสร้างความบันเทิงแล้ว ยังสามารถช่วยถ่ายทอดสิ่งดีงามสู่สาธารณะชนได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ หรือวัฒนธรรมที่ควรค่าแก่การรักษาไว้ ภาพยนตร์ มีมากมายหลายประเภท แต่หลักๆที่นิยมดูกันคือ แนวแอคชั่น แนวตลก แนวดราม่า แนววิทยาศาสตร์ รวมไปถึงแนวระทึกขวัญและแนวการ์ตูน ซึ่งขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคล หลายคนดูเพื่อความบันเทิง แต่ก็มีบางคนที่ดูหนังเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้กับตัวเอง หนังที่ดีบางครั้งก็ให้ทั้งบทเรียนและชี้ให้เห็นถึงความผิดพลาดของชีวิต เพราะชีวิตจริงของคนเราก็ไม่ได้แตกต่างจากในหนังมากเท่าไหร่ แถมตอนจบยังไม่สามารถทำให้จบแบบมีความสุขทุกฝ่ายแบบในหนัง เขาถึงให้เราดูละครแล้วย้อนดูตัวเอง ก็เพื่อให้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ต่างๆที่ได้เจอในหนัง ไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์หรือเคล็ดลับ หากมันเป็นสิ่งที่ดี เราก็ควรนำมาปรับใช้กับชีวิตจริง บ่อยครั้งที่ ภาพยนตร์ สร้างสีสันให้กับเรา ไม่ว่าจะเสียงหัวเราะกับมุกตลก ความตื่นเต้นไปกับฉากเอฟเฟค รวมไปถึงการลุ้นระทึกไปกับฉากน่าหวาดเสียวของตัวแสดงสมมุติ ทั้งหมดล้วนทำให้เรารู้สึกมีชีวิตชีวา เหมือนเราหลุดมาอยู่ในโลกอีกใบนึง จินตนาการไปจนถึงการได้เข้าไปอยู่ร่วมในสถานการณ์นั้น และบ่อยครั้งที่ทำให้เราร้องไห้อย่างไม่มีเหตุผลกับฉากประทับใจสุดซึ้งและฉากที่เศร้าเสียใจ หดหู่จนเราต้องร้องไห้ตาม ถือว่าผู้กำกับภาพยนตร์ ประสบความสำเร็จ สามารถดึงผู้ชมให้มีความรู้สึกร่วมไปกับฉากในหนัง

การดูหนังให้ได้ผลดีคือการดูให้ตัวเองมีความสุขอย่าเก็บความเลวร้ายจากบางฉากมาทำให้ชีวิตของเรามืดดำ บางครั้งแค่ฉากๆนึงในภาพยนตร์ อาจเปลี่ยนความคิดและทัศนคติของบางคนไปตลอดกาล อย่างเช่น การดูหนังซุปเปอร์ฮีโร่ แล้วกระตุ้นให้อยากปกป้องความดีและต่อสู้กับความชั่วร้าย จนลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงชีวิตจริงเพื่อต่อสู้กับอุปสรรคและปัญหาต่างๆ ถือเป็นคุณประโยชน์มาก ภาพยนตร์ ยังช่วยบำบัดและเยียวยาอาการป่วยทางจิตได้อีกด้วย เพราะหนังบางเรื่องช่วยผ่อนคลายความกดดัน สร้างทัศนคติที่ดีให้กับผู้ป่วยทางใจ ปัจจุบันยังมีข้อจำกัดสำหรับการเผยแพร่ เพราะบางฉากถือว่าไม่เหมาะสำหรับเด็ก หรือฉากที่สื่อสารออกมาแล้วทำให้เกิดความเข้าใจผิดกับผู้รับชม รวมไปถึงอาจเป็นการสร้างค่านิยมที่ผิดๆขึ้นมาได้ เพราะฉะนั้นการดูหนังควรใช้วิจารณญาณในการรับชมให้มากๆ เด็กควรได้รับคำแนะนำจากผู้ใหญ่ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง เพราะ บางเรื่องดำเนินเรื่องด้วยความรู้สึกส่วนตัว จึงเป็นเหมือนดาบสองคม บางปมผู้สร้างละไว้ให้เราจินตนาการต่อ ซึ่งไม่ได้ชี้ให้เห็นผลลัพธ์ที่ตามมาจึงถือว่าเป็นเรื่องที่ควรได้รับคำแนะนำที่ดีจากผู้เชี่ยวชาญ หลักๆของ ภาพยนตร์ สร้างขึ้นมาเพื่อความบันเทิง เราควรรับชมเพื่อความผ่อนคลายและสร้างความสุขให้กับชีวิต จงยิ้มและหัวเราะไปกับความสุขที่อยู่ตรงหน้า แม้จะอยู่ในภาวะที่แบกปัญหาหนักแต่ควรปล่อยวางไว้ก่อน ให้เวลาตัวเองได้สนุกกับบทภาพยนตร์ ที่สำคัญ อย่าลืมปิดเสียงโทรศัพท์เวลาเข้าโรงภาพยนตร์